ลงนามถวายพระพร

๑๖ ธันวาคม, ๒๕๕๑

พิธีมอบชุดธารน้ำใจบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัย



อำเภอหนองจิกร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดปัตตานีได้จัดทำพิธีมอบถุงธารน้ำใจเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่อำเภอหนองจิก จำนวน 420 ชุด ในวันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2551 เวลา 12.30 น. ณ หอประชุมอำเภอหนองจิก

๑๕ ธันวาคม, ๒๕๕๑

การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา " 5 ธันวามหาราช " พุทธศักราช 2551












อำเภอหนองจิก ได้จัดงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 5 ธันวามหาราช ประจำปีพุทธศักราช 2551 เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขึ้น ซึ่งก็มีหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ และประชาชนมาร่วมงานด้วยและในเวลา 19.30 น.ได้มีพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพรที่บริเวณลานศิลปวัฒนธรรมหน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานีด้วย

๒๐ พฤศจิกายน, ๒๕๕๑

การจัดพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ฯ













ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 ณ วัดมุจลินทวาปีวิหาร ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้จัดพิธีถวายดอกไม้จันทน์ เนื่องในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


๑๙ พฤศจิกายน, ๒๕๕๑

อธิบดีกรมการปกครองตรวจเยี่ยมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
















เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 อธิบดีกรมการปกครอง ได้มาตรวจเยี่ยมพื้นที่และหน่วยกำลังในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และเยี่ยมประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้รวมทั้งฟังบรรยายสรุปการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)ได้ตรวจเยี่ยมพลังมวลชนและสมาชิก อส. ในสกัด บก.อส.จว.ปน.และกำลัง ตำรวจ ทหาร ในพื้นที่ อำเภอหนองจิกและตรวจเยี่ยมการปฎิบัติงานของ ชรบ. บ้านท่าด่าน หมู่ 2 ตำบลดอนรัก และตรวจเยี่ยมกำลังพล สมาชิก อส. ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จาก 14 กองร้อยฯๆ ละ 10 นาย และได้ตรวจเยี่ยมจุดตรวจเกาะหม้อแกง ( อส. 10 นาย ตำรวจ 10 นาย ทหาร 10 นาย ) โดยมีนายอำเภอหนองจิกและนายอำเภอทุกอำเภอ รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการให้การต้อนรับการตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ด้วย





๒๓ ตุลาคม, ๒๕๕๑

กิจกรรมวันปิยะมหาราชจังหวัดปัตตานี












เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2551 นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเนื่องในวันปิยะมหาราช ซึ่งก็มีข้าราชการ หน่วยงานราการ รัฐวิสาหกิจ พ่อค้าประชาชน ทหาร ตำรวจมาร่วมพิธีดังกล่าวฯซึ่งนายอำเภอหนองจิกและปลัดอำเภอหนองจิกก็ได้เข้าร่วมในพิธีด้วย
ความเป็นมาของวันปิยะมหาราช
วันที่ ๒๓ ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทุกปีจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของหวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคมส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง ๔๐ ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๕๑ นั้น ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคมซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร ๕ ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้ว ได้เสด็จฯไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปริมทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า "สมเด็จเจ้าฬ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหากุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตรสิริวัฒนราชกุมาร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี พระบรมราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกจากสำนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๓ ผู้ทรงรอบรู้ด้านอักษรศาสตร์ และโบราณราชประเพณีอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นทรงศึกษาภาษามคธกับพระปริยัติธรรมธาดา(เนียม) เมื่อเป็นหลวงราชาภิรมย์ กรมราชบัณฑิต ทรงศึกษาวิชาการยิ่งปืนไฟจากสำนัก พระยาอภัยศรเพลิง(ศรี) ทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ และวิชาอื่นๆ อันสมควรแก่บรมราชกุมาร นอกจากนี้ ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ จากชาวต่างประเทศโดยตรง คือ นางแอนนาเลียวโนแวนส์ ครูสตรีชาวอังกฤษ ต่อมาทรงศึกษากับหมอจันดเล ชาวอเมริกัน และ เมื่อเสวยราชสมบัติแล้ว พุทธศักราช ๒๔๑๖ ได้ทรงศึกษา ได้ทรงศึกษากับครูชาวอังกฤษ ชื่อฟรานซิส ยอร์จ แพตเตอสัน ต่อมาก็ทรงพระอุตสาหะศึกษาด้วยพระองค์เองจนมี ความรู้ภาษาอังกฤษอย่างแตกฉาน ในด้านวิชารัฐศาสตร์ ราชประเพณีและโบราณคดีนั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นผู้พระราชทานการฝึกสอนด้วยพระองค์เองตลอดมา หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ เหล่าเสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ ขึ้นเถลิงราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราช
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ ขณะนั้นทรงพระชนมายุเพียง ๑๔ พรรษา สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ รับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ระหว่างนั้นพระองค์ได้เสด็จประพาสต่างประเทศ คือ อินเดีย และชวา เพื่อทอดพระเนตรวิทยาการสมัยใหม่ที่ ประเทศทางตะวันตกนำมาเผยแพร่เพื่อนำเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่นคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้




๒๒ ตุลาคม, ๒๕๕๑

บุญกฐินตำบลดาโต๊ะ






เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2551 ทีมปลัดอำเภอได้ไปร่วมมีพิธีทอดกฐิน ณวัดโคกหมัก ต.ดาโต๊ะ อ.หนองจิก ซึ่งก็มีประชาชนมากมายเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว งานนี้อิ่มบุญไปตามกัน

๑๗ กันยายน, ๒๕๕๑

โครงการรอมฎอนสัมพันธ์ ประจำปี 2551







เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2551 เวลา 18.17 น. นายสนั่น พงษ์อักษร ได้เป็นประธานเนื่องในโอกาสเดือน

รอมฎอนอันประเสริฐ เป็นเดือนแห่งการถือศีลอดของพี่น้องประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม อำเภอหนองจิก ตระหนักและให้ความสำคัญในการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐของพี่น้องประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม จึงได้จัดทำโครงการรอมฎอนสัมพันธ์ ประจำปี 2551 ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเชิญชวนส่วนราชการ ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ มาละศีลอดร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนภารกิจและกิจกรรมด้านศาสนา ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างภาครัฐกับพี่น้องประชาชน ทั้งนี้บนพื้นฐานความเข้าใจ ความจริงใจ และพึ่งได้ของหน่วยงานราชการระดับพื้นที่กับพี่น้องประชาชน เพื่อนำไปสู่ความสันติสุขของชุมชนและสังคมในพื้นที่ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการถือศีลอด
1. การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
- การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนนั้น เป็นการถือศีลอดจำเป็น (วาญิบ) โดยปรากฏหลักฐานในอัลกุรอ่าน และซุนนะห์ของท่านนบีมูฮัมหมัด
2. หลักการถือศีลอด มี 2 ประการ
1. ตั้งเจตนาถือศีลอด
2. งดจากสิ่งที่ทำให้เสียศีลอด เช่น กิน ดื่ม มีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น เริ่มจากอรุณทอแสง จนถึงดวงอาทิตย์ตก
3. ผลตอบแทนของการถือศีลอด
“ผู้ใดถือศีลอดเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธา และหรือผลตอบแทนจากอัลลอฮ์ เขาจะได้รับการอภัยโทษความผิดที่ได้กระทำมาก่อน”

๐๓ มีนาคม, ๒๕๕๑

โครงการรวมพลังแผ่นดินต่อต้านยาเสพติด อ.หนองจิก






เมื่อวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมาท่านณฐพล วิเชียรเพริศได้เป็นประธานมีการรวมพลังต่อต้านยาเสพติดโดยมีกลุ่มผู้ประสานพลังแผ่นดินในอ.หนองจิกจำนวน 300 คนมาร่วมกล่าวคำปฏิญาน ไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด


๒๔ กุมภาพันธ์, ๒๕๕๑

ขอเชิญทุกท่านไปใช้สิทธิ์เลือกสว.ในวันที่2 มีนาคม 2551

ขอเชิญทุกท่านไปใช้สิทธิ์เลือกสว.ในวันที่2 มีนาคม 2551ตั้งแต่เวลา 08.00-15.00 น

๒๒ กุมภาพันธ์, ๒๕๕๑

ฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี












พระราชดำริ
สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือที่ รล 0010.1/949 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ความว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พื้นที่ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ได้มีแหล่งจ้างแรงงาน แหล่งผลิตอาหารและให้ความรู้ด้านการเกษตรที่ถูกต้อง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินงานโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านดอนนา ดังนี้
1. กิจกรรมฟาร์ม
- งานอำนวยการและประสานงาน ดำเนินการในด้านการก่อสร้างอาคารและโรงเรือนต่าง ๆ รวมทั้ง การจัดหาครุภัณฑ์สำนักงาน เพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในฟาร์มตัวอย่าง เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ เป็นแหล่งจ้างงานและแหล่งฝึกอาชีพให้แก่ราษฎรปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 60จะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549
- งานปศุสัตว์ ดำเนินการก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โรงเรือนเลี้ยงแพะ จำนวน 2 โรง และโรงเรือนเลี้ยงเป็ด จำนวน 2 โรง เรียบร้อยแล้ว และจัดซื้อพันธุ์สัตว์ ได้แก่ แพะ เป็ด ไก่ และจะดำเนินการเลี้ยงผึ้ง จำนวน 40 รัง ตลอดจนดำเนินงานด้านปศุสัตว์ข้างต้น ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 60 จะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549
- งานประมง ดำเนินการเลี้ยงปลานิลแดง ปลาดุก ทั้งในบ่อเลี้ยงและกระชังปลา และดำเนินการขุดสระเลี้ยงกบ ความกว้างประมาณ 1 ไร่ ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 80 จะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549
- งานด้านวิชาการเกษตร ดำเนินการส่งเสริมการทำนา การเพาะเลี้ยงเห็ด ดำเนินการก่อสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด 10 โรง แล้วเสร็จ 4 โรง ตลอดจนจัดทำปุ๋ยหมัก แปลงพืชผัก ไม้ผลชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด มะเขือ คะน้าและผักกาดขาว เป็นต้น จะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549
2. กิจกรรมจัดหาน้ำ
โครงการนี้ได้อาศัยน้ำจากระบบส่งน้ำของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการซ่อมแซมคูไส้ไก่ความยาวรวม 200 เมตร ขุดลอกคลองระบายน้ำจำนวน 2 สาย ความยาวรวม 3,950 เมตร ก่อสร้างคูส่งน้ำจำนวน 1 สาย ความยาว 781 เมตร ท่อลอดถนนขนาด 1 ช่อง Ø 0.40 เมตร และ 0.60 เมตร และอาคารบังคับน้ำขนาด 1 ช่อง Ø 0.60 เมตร และ 1.00 เมตร พร้อมทั้งจัดบานระบายโดยทำการเชื่อมต่อกับระบบส่งน้ำเดิมกระจายให้ทั่วพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทั้ง 600 ไร่ ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วร้อยละ 50คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ สามารถสนับสนุนกิจกรรมภายในฟาร์ม ให้ได้มีผลผลิตที่มากขึ้น และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และเกษตรกรในฟาร์ม ได้มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค–บริโภค และยังต่อระบบส่งน้ำช่วยเหลือราษฎร 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4 และ 5 บ้านดอนนา ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวน 2,000 คน ได้มีน้ำใช้ในการเกษตรได้เพียงพอตลอดปี และสามารถระบายน้ำท่วมให้แก่พื้นที่การเกษตรที่อยู่ใกล้เคียงจำนวน 2,000 ไร่ ได้เป็นอย่างดี
3. กิจกรรมก่อสร้างถนนทางเข้าและถนนภายในฟาร์ม
กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างถนนทางเข้าโครงการและถนนภายในโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นถนนผิวหินคลุกหนา 15 เซนติเมตร กว้าง 4 เมตร จำนวน 12 สาย ระยะทาง 7,953 กิโลเมตร จำนวน 4 สาย ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วร้อยละ 60 และจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 ตามแผนงานที่กำหนด
สำหรับการก่อสร้างถนนทางเข้าและถนนภายในฟาร์ม จะทำให้การคมนาคมในฟาร์มมีความสะดวกรวดเร็ว สามารถเดินทางเข้าสู่แปลงต่าง ๆ ภายในฟาร์มและขนส่งผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
โครงการนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นแหล่งผลิตอาหารและแหล่งจ้างงานให้แก่ราษฎรในพื้นที่ จำนวน 133 คน ในจำนวนนี้มียามทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย 20 คน รวมทั้งเป็นแหล่งให้ความรู้แก่ผู้เข้ามาทำงานและผู้สนใจให้มีความรู้ทางการเกษตรที่ถูกต้อง จำนวนประชากร 300 ครัวเรือน เพื่อราษฎรจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รายได้ของฟาร์มหลังจากดำเนินการ 5 เดือน เป็นเงินจำนวน 87,183 บาท

สถานบริการภาครัฐ

วิทยาลัยการญจนภิเษก โทร. 0-7335-7320
โรงพยาบาล/คลินิก/สถานพยาบาล
โรงพยาบาลหนองจิก โทร. 0-7343-7174
สถานีตำรวจภูธร
0-7343-7030
-
สำนักงานที่ดิน
0-7343-7047
สำนักงานสรรพากร
0-7343-7164
สำนักงานป่าไม้
-
สำนักงานสัสดี
-
สำนักงานเกษตร
0-7343-7068
สำนักงานพัฒนาชุมชน
0-7343-7033
สำนักงานสาธารสุขอำเภอ
0-7343-7152
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2
0-7343-7186